มิตรแลนด์ จำหน่ายและให้เช่ารถเฮี๊ยบ รถบรรทุกติดเครน เครนพับ

การใช้งานรถเฮี๊ยบอย่างปลอดภัยตอนที่ 2

ปัญหาที่เกิดจากการใช้เครน แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย

1.สภาวะที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 10% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่มาของสาเหตุอาจจะแบ่งได้จากองค์ประกอบ 3 ประการ

    1.1.เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่มีอุปกรณ์ช่วยความปลอดภัย ระบบเบรคไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

    1.2.สภาพพื้นที่ทำงาน อยู่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทางวิ่งมีผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อ ปฏิบัติงานใกล้ที่ลาดขัน สภาพพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เป็นต้น

    1.3.ตัวบุคคล ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แต่งกายไม่รัดกุม เป็นต้น

                         

2.การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (การกระทำที่ไม่ปลอดภัย) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 88% ของอุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น มาจากองค์ประกอบ 3 ประการ

    2.1.ขาดความรู้ เป็นสาเหตุร้ายแรงมากที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะผ้ปฏิบัติงานขาดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ขาดความรู้เกี่ยวกับการบังคับปั้นจั่นคันนั้น ขาดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ผูกมัด ยกเคลื่อนย้ายวัสดุ คำนวณขนาดแผ่นรองขาไม่เป็น เป็นต้น

    2.2.เสี่ยง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยดีแต่ชอบปฏิบัติงานด้วยการเสี่ยง เช่น ใช้ปั้นจั่นเกินพิกัด ปฏิบัติงานด้วยความรีบเร่งเกินสมควร ลัดขั้นตอน ไม่ใช้เครื่องช่วยความปลอดภัย เช่น ใช้ระบบฝืน PTO2 สภาพพื้นที่อ่อนแต่ใช้แผ่นเหล็กขนาดเล็กรองขาปั้นจั่น หรือไม่ได้สำรวจพื้นที่ก่อนปฏิบัติงานการใช้ปั้นจั่นโดยไม่มีหน้าที่มอบหมาย เล่นตลอกคะนองในขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น

    2.3.ทัศนคติไม่ถูกต้อง เช่น มีความรู้สึกต่ออุบัติเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะโชคร้าย เคราะห์ร้าย ดวงไม่ดี ฯลฯ จึงไม่ได้หาวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ

      ถ้ายังปล่อยให้เกิดปัญหาเหล่านี้ต่อไป อาจทำให้งานล่าช้าหรือเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น บริษัท Midland ได้มีขั้นตอนการใช้รถเครนอย่างปลอดภัยและวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาจากการใช้เครนที่ถูกต้อง ดังนี้

การใช้งานรถเครนอย่างปลอดภัย

  1. ตำแหน่งคันบังคับ และคันเกียร์ต้องอยู่ในตำแหน่งว่าง หรือหยุดทำงานก่อนสตาร์ทเครื่อง
  2. ตำแหน่ง PTO ต้องอยู่ตำแหน่งหยุดทำงานก่อนรถเดินทาง
  3. ควรปิดไฟสำหรับทำงานในขณะทำงานบนท้องถนน
  4. ควรมีการประชุมวางแผนก่อนการทำงาน
  5. ควรสำรวจว่ามีแนวท่อต่าง ๆ ฝังอยู่ใต้ขาตั้งเครนหรือไม่
  6. ตรวจสอบระยะการยืดคานขาเครนให้ถูกต้องตามที่ใช้งาน
  7. ปรับระดับรถเครนให้ได้แนวระนาบ และขาเครนทุกด้านต้องกดลงพื้น ล้อทุกล้อต้องไม่ลอยพ้นพื้นดิน
  8. ห้ามใช้น้ำหนักถ่วงหรือเหนี่ยวรั้งคานขาเครนขณะทำการยก
  9. ควรยกน้ำหนักไม่เกินจากค่าที่กำหนดในตารางน้ำหนัก
  10. ไม่ควรตัดหรือปิดการทำงานของระบบความปลอดภัยต่างๆ

 

 

     หากวันนี้คุณใช้เครน แต่ไม่มีที่ปรึกษาทางเรายินดีให้คำปรึกษาสนใจติดต่อ บริษัท มิตรแลนด์ คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด(โรงงาน) 35/8 ถนนกาญจนา แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

TEL : 02-721-6488  (บริการซ่อมนอกเวลาทำการ  ติดต่อ ธีรพล จันทร์หอม 089-5028723)

ขอขอบคุณรูปและข้อมูลจาก www.hiab.com